วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เมนูสุขภาพใส่บาตรตอนเช้า

วันนี้  18 พย.56
วันนี้ตื่นเช้ากว่าทุึกวัน  เพราะตั้งใจว่าจะทำขนมบัวลอยไข่หวาน และทำกับข้าวใส่บาตรพระตอนเช้า เมื่อวานไปซื้อวัตถุดิบเตรียมไว้  สำหรับปรุึงเมนู “แกงมะระใ่ส่เต้าหู้” และ “แกงจืดยอดตำลึง-ฟักข้าว เต้าหู้อ่อน”
ลืมตาขึ้นมา  กิจวัตรแรก  คือเสียบปลั๊กต้มน้ำร้อน ขอกาแฟดำก่อน 1  แก้ว
หลายวันก่อน พี่ชายหมู่บ้านใกล้ ๆ ปลูกมะระจีนไว้ 1 ไร่ กำลังผลิดอก ออกผล เยอะมาก ปรากฎว่า ฝนเกิดเทลงมาแบบไม่ลืมหูลืมตา ตกทั้งวันทั้งคืน สร้างความเสียหายกับไร่มะระ ที่ผลผลิตกำลังเติบโต เน่าเสียหาย ผลมะระจีนกำลังอ่อน ๆ ยังไม่ได้ขนาดเก็บขาย ต้องเก็บเอามาแจกเพื่อนบ้าน พี่น้อง เราเลยได้อานิสง ไปด้วย หลังจากทำเมนูมะระ ไปแล้ว หลายเมนู คิดว่า “แกงมะระใส่เต้าหู้” วันนี้ คงเป็นเมนูสุดท้ายแล้วละ เพราะมะระจีนหมดแล้ว
วัตถุดิบ  เตรียมไว้แล้วจึงใช้เวลาไม่นานในการปรุง
มะระจีน / เต้าหู้แผ่น(แทนเนื้อหมู) / พริกแกงเผ็ด / กะทิสด / เกลือ / น้ำตาลทราย(แทนผงชูรส) / น้ำมะขามเปียก
ใส่หัวกะทิ + พริกแกง ตั้งไฟ ให้กะทิแตกมัน เต็มเต้าหู้ มะระ เติมกะทิส่วนที่เหลือ ตั้งทิ้งไว้ให้เดือด ชิมก่อนปรุงรสตามใจชอบด้วย  เกลือ น้ำตาลทราย(แทนผงชูรส) และน้ำมะขามเปียก เสร็จแล้วยกลง ก็ได้แกงมะระเต้าหู้ที่แสนอร่อย
เมนูที่สอง แกงจืดยอดตำลึง-ฟักข้าว
ที่เป็นผักสองอย่างนี้ เพราะเก็บจากรั้วข้างบ้าน เฉพาะยอดตำลึง ดูเหมือนผักจะน้อยไปนิดนึง พอดี หันไปฟักข้าว ออกยอดไสว น่าทานจัง  เลยเก็บมาแกงจืดปนกับยอดตำลึง ผักสองอย่างนี้ กลิ่นรสชาด เหมือนกันเด๊ะ คุณสมบัติ และคุณค่าทางอาหารก็ใกล้เคียงกัน  อร่อยอย่างไทย ๆ มีคุณค่าของผักสีเขียว
เอาละ  เริ่มลงมือปรุง
ผัก ยอดตำลึง-ยอดฟักข้าว เด็กเอาแต่ส่วนยอดและใบอ่อน / เต้าหู้อ่อน / ซีอิ้วขาว / เกลือ / น้ำตาลทราย(แทนผงชูรสและซุปก้อน หรือผงปรุงรส)
ตั้งน้ำสะอาดให้เดือด เติมซีอิ้ว/น้ำตาลทราย เล็กน้อย ใส่เต้าหู้อ่อน ชิม และปรุงรสตามชอบ แล้วเติมผัก ยกลง (สุดยอดเมนูสุขภาพเชียว)
เสร็จสองเมนู  แล้วมองนาฬิกา เวลายังเหลือเยอะเลยหันมาทำขนมบัวลอยไข่หวาน (มีไข่ไก่ที่เหลือจากการขาย เพราะฟองเล็กไม่ได้ขนาดเก็บไว้ในตู้เย็นหลายฟอง) เอาละไปเอาแป้งข้าวเหนียวมา ปัจจุบันนี้จะทำขนมแต่ละครั้งสะดวกมาก หากเป็นสมัยก่อนต้องเอาข้าวเหนียวมาแช่น้ำ ก่อนเอามาโม่ เอามานวด โอ๊ย  หลายขั้นตอนกว่าจะได้กินขนมอร่อย ๆ  เดี๊ยวนี้แค่เอาผงแป้งข้าวเหนียวมานวดกับน้ำสะอาด ให้เหนียวนุ่ม ปั้นได้ ก้อใช้ได้แล้ว
ตั้งน้ำให้เดือด เอาแป้งที่นวดเมื่อกี้ ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เล็ก ใส่หม้อที่น้ำกำลังเดือด พล่าน จนแป้งสุก สังเกตก้อนแป้งจะลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ตักออกแช่น้ำเย็นทิ้งไว้
เตรียมส่วนที่เป็นไข่หวาน  
กะทิที่แบ่งไว้  จากการทำแกงมะระเมื่อสักครู่   แยกส่วนที่เป็นหัวกะทิไว้ตางหาก
นำกะทิ  ตั้งไฟ เติมน้ำตาลทราย ชิมให้ได้รสชาดความหวานตามที่ต้องการ (ให้หวานกว่าปกตินิดนึงเผื่อความหวานไว้สำหรับเติมไข่ไก่ และแป้งบัวลอย เพราะหากใส่สองอย่างแล้วจะทำให้ความหวานลดลงนิดนึง) ไฟไม่ต้องแรง พอเืดือด ตอกไ่ข่ใส่ ตามต้องการ ไม่ต้องคน ปล่อยให้เดือดจนไข่สุก เติมแป้งบัวลอยที่ต้มไว้แล้ว  เท่าีนี้ก็ได้ขนมบัวลอยแสนอร่อย รสชาดตามที่เราต้องการ
เสร็จแล้ว เวลา 06.40 น. ตรียมตักใส่ถุง  จัดชุดใส่บาตร ตอนเช้า
ไม่ลืมอธิฐานจิต  กุศลจากการตั้งใจใส่บาตรเช้านี้ อุทิศให้ พ่อ-แม่ ปู่-ย่า ตา-ยาย ญาติผู้ล่วงลับ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ปกป้องคุ้มครอง ขอให้ทุกคนมีความสุข อย่าได้ลำบากเดือดร้อนใด ๆ เลย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรอภัยในความผิดในอดีตของข้าพเจ้าด้วย สาธุ.../

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

รวมสูตรแปรรูปผลไม้ั


กล้วย

กล้วยน้ำว้าแผ่นกรอบ

ส่วนประกอบ   

เนื้อกล้วยน้ำว้า (สุก)         1000       กรัม

แป้งสาลี                          100       กรัม

น้ำตาลทรายขาว                 30       กรัม

น้ำสะอาด                       1000       กรัม

โซเดียมเมตาไบซัลไฟท์           1       กรัม
น้ำเกลือเข้มข้นร้อยละ 5           1       ลิตร

กรรมวิธี          

1. ล้างน้ำ ปอกเปลือก แช่ผลกล้วยในน้ำเกลือร้อยละ 5 ประมาณ 30 นาที

2. เอาขึ้น หั่นเนื้อกล้วยเป็นชิ้นบาง ๆ ตีป่น เติมแป้งสาลี น้ำตาลทรายขาว 

น้ำสะอาด โซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน

3. ทำให้ร้อนประมาณ 70 องศาเซลเซียส เทเข้าเครื่อง Drum dryer

4. บรรจุแผ่นกรอบที่ได้ในภาชนะที่สะอาด แห้ง และปิดสนิท 

กล้วยตาก

ส่วนประกอบ   

กล้วยน้ำว้าสุก                   1000       กรัม
สารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ร้อยละ 0.1     1     ลิตร

กรรมวิธี         

1. ล้างน้ำ ปอกเปลือก แช่ในสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ร้อยละ 0.1 

นาน 30 นาที

2. ตากในตู้อบลมร้อนไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง 

หรือ ตากแดดนาน 2-3 วัน
3. ทับให้แบนจนผิวกล้วยตึง แล้วตากต่อไปจนแห้ง4. บรรจุในภาชนะ
สะอาด แห้ง และปิดฝาหมายเหตุ ถ้าจะให้มีรสหวานอาจชุบน้ำผึ้งก่อนตาก

กล้วยฉาบ

ส่วนประกอบ   

กล้วยน้ำว้าแก่จัดแต่ยังดิบ      1     หวี (15 ผล)

น้ำตาลทรายขาว  100  กรัม หรือประมาณ 8 ช้อนโต๊ะ

น้ำมันสำหรับทอด

น้ำเกลือเข้มข้นร้อยละ 2

กรรมวิธี         

1. ล้างกล้วย ปอกเปลือก ล้างน้ำเกลือ

2. หั่นบาง ๆ ตามยาวหรือตามขวางของผลกล้วย ล้างน้ำเกลืออีกครั้ง ผึ่งให้

แห้ง

3. ทอดในน้ำมันร้อนให้กรอบ

4. นำกล้วยน้ำว้ากรอบมาฉาบน้ำตาลทรายขาว

5. บรรจุในภาชนะสะอาด แห้ง และปิดสนิท 

กล้วยน้ำว้าอบเนย

ส่วนประกอบ   

กล้วยน้ำว้าแก่จัดแต่ยังดิบ    1     หวี (15 ผล)
เนย     30   กรัม  หรือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น    2     กรัม  หรือประมาณ ¾ ช้อนชาน้ำมันสำหรับทอด
กรรมวิธี         

1. เตรียมกล้วยเหมือนกล้วยฉาบทุกอย่าง

2. นำกล้วยทอดคลุกกับเนยและเกลือป่น อบในเตาอบที่อุณหภูมิ 250 องศา

เซลเซียส ประมาณ 5 นาที
3. บรรจุในภาชนะสะอาด แห้ง และปิดสนิท 

ข้าวเกรียบกล้วยน้ำว้า
ส่วนประกอบ   

เนื้อกล้วยน้ำว้าบด                  500  กรัม

แป้งมัน                               500  กรัม
เกลือ                                   10   กรัม

กรรมวิธี         

1. นำส่วนผสมทั้งหมดผสมกัน ยกขึ้นตั้งไฟคนให้แป้งดิบ ๆ สุก ๆ

2. นวดจนไม่ติดมือ และปั้นเป็นก้อนยาว ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว 

นึ่งประมาณ 30 นาทีผึ่งลมให้แห้งหมาด

3. หั่นชิ้นบาง ๆ ตากแดดให้แห้งสนิท
4. บรรจุในภาชนะสะอาด แห้ง และปิดสนิท 

กล้วยน้ำว้ากวน

ส่วนประกอบ   

กล้วยน้ำว้าสุกงอม            2     หวี  (30 ผล)
น้ำตาลปีบ                 1000       กรัม
มะพร้าว                   1000       กรัม

กรรมวิธี         

1. ล้างกล้วย ปอกเปลือก หั่นหรือยีกล้วยให้ละเอียด

2. คั้นกะทิ เอาเฉพาะแต่หัวกะทิ ให้ได้ 500 กรัม หรือประมาณ 2 ถ้วย

3. ผสมกะทิ น้ำตาล กล้วย คนให้เข้ากัน ตั้งไฟอ่อน ๆ กวนจนเหนียวแห้ง
4. ห่อกระดาษแก้วหรือบรรจุในภาชนะสะอาด แห้ง และปิดสนิท